เกาะในประเทศไทย

 

เกาะในประเทศไทย

หมายถึง บริเวรที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลาทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขังน้ำ เช่นบึงหรือทะเลสาบก็ได้เนื่องจากเกาะเป็นระบบนิเวศบนบกที่แยกส่วนออกมาจากแผ่นดินใหญ่โดยแวดล้อมไปด้วยผืนน้ำทำให้มีโอกาสพบชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น(Endemic species)

ได้มากกว่าพื้นที่อื่น ซึ่งเกาะในน่านน้ำทะเลไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน มีพื้นที่เริ่มตั้งแต่บริเวณริมชายฝั่งทะเลออกไปในทะเล 200 ไมล์ทะเล ซึ่งเป็นเขตเศรษกิจจำเพาะ

โดยเกาะจะโผล่พ้นน้ำตลอดเวลา และไม่จำกัดขนาดพื้นที่หรือมีประชากรอยู่อาศัยหรือไม่ และไม่คำนึงถึงระยะห่างจากชายฝั่งทะเล

ดังนั้น

เกาะจึงอาจหมายความรวมถึงหินโสโครกที่โผล่พ้นน้ำตลอดเวลาด้วย

 

ลักษณะพื้นที่

ระบบนิเวศเกาะ ประกอบด้วยระบบนิเวศที่แตกต่างกัน ซึ่งในเกาะหนึ่งอาจประกอบด้วยระบบนิเวศ ที่มีความหลากหลาย เช่น ระบบนิเวศภูเขา

ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า เกาะของประเทศไทยมีการกระจายตัวอยู่ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันโดยฝั่งอ่าวไทย

มีเกาะจำนวน 374 เกาะ ส่วนฝั่งทะเลอันดามัน มีจำนวนมาก มีจำนวน 562 เกาะ มีความยาวรอบเกาะรวมกันทั้งหมด3,724.32กิโลเมตร และพื้นที่ทั้งหมดรวมกันทั้งสิ้น2ล686.84 ตร.กม จังหวัดที่มีจำนวนเกาะมากที่สุด คืดจังหวัดพังงา (155เกาะ) รองลงมาจังหวัดกระบี่ (154เกาะ) รองลงมาจังหวัดสุราฎธานี (108เกาะ)

 

เกาะที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ

ประเทศไทยมีเกาะที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นท่มีความสำคัญระหว่างประเทศ จำนวน3 แห่ง ได้แก่ หาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง-ปากแม่น้ำ เกาะกระ และหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง โดยมีระบบนิเวศที่สำคัญ

 

จำนวนผู้เข้าชม